วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2552

April 8-9 ,2008 ท้องฟ้าแผ่นดินซับฟ้าผ่า



APRIL 8-9,2008 ท้องฟ้าแผ่นดินซับฟ้าผ่า ภัตตาคารแร้ง


เราคาดหวังหรือเรียนรู้อะไรบ้างบนช่วงเวลาสำคัญชีวิตของเราเกี่ยวข้องกับธรรมชาติห้วยขาแข้งสุสาน……พญาแร้งประจำถิ่นกลุ่มสุดท้ายล่มสลายด้วยยาเบื่อราคาซองละไม่กี่บาท


เวลาเลวร้ายอย่างนั้นไม่นานพอสำหรับบางคนถูกจำกัดให้รับรู้ข่าวจะลืมเลือน

ซับฟ้าผ่าจุดเล็กๆห้วยขาแข้งมรดกโลกถูกเลือกจากคนเหล่านักวิชาการ ปักษีชีววิทยา นักอนุรักษ์ สัตว์แพทย์ เจ้าหน้าที่ข้าราชการและนักการเมือง


หลายๆคนมติร่วมดำเนินประสานเห็นสมควรให้แล้วที่สุด……
เป็นที่ปล่อยคืนอิสระพญาแร้งเด็กน้อยสายพันธุ์หิมาลัยสีน้ำตาล ทั้งหมด 10 ตัว


นักวิชาการกลุ่มอาสาสมัครทำงานนี้ ให้คำจำกัดความนี่คือโครงการ ภัตตาคารแร้ง……แต่ก่อนอื่นตัวเราถามตัวเองว่าพญาแร้งหิมาลัยสีน้ำตาลมาจากไหน ข้างลังไม้ตีหยาบๆ เขียนจังหวัด ตรัง สตูล …. และอื่นๆ


ตีความสำเร็จรู้แจ้งมาจากหลายจังหวัดทางภาคใต้แต่ทุกตัวตกลงทะเลชายฝั่วอ่าวไทย และอันดามัน

เรื่องร้อนใจปนรันทด เศร้าจริงใช่ไหม…..ต้องรับรู้พญาแร้งส่วนมากเป็นพญาแร้งเด็กน้อยอายุเพียงแค่ 1 ปี ทุกตัวพลัดพรากจากฝูงพ่อแม่พี่น้อง


พญาแร้งเด็กน้อยกำพร้าหมดแรงไม่มีซากสัตว์เสริมแรงสร้างพลังบินสู่จุดหมายปลายทางตามเผ่าพันธุ์ อ่อนล้าเกินฝืนกางปีกใหญ่ร่วงใส่ทะเลเบื้องล่าง….ยอมแพ้เป็นอาหารสัตว์น้ำทะเลต่อไป

อดีตดินแดนประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากร มากมายทั้งพญาแร้งประจำถิ่น และพญาแร้งอพยพจากอีกฟากฟ้า…ธิเบตขุนเขาเจ้าแห่งลมเหนือ


ไม่นานแค่ไม่ถึงครึ่งอายุคน…. ทำไมชะตาลิขิตให้แผ่นดินแห่งนี้คนไทยส่วนใหญ่ดิ้นรนเปลี่ยนแปลงสมดุลทำลายล้างทรัยากรธรรมชาติ


.......จากผู้มั่งคั่งเพื่อนสรรพชีวิตสัตว์ป่า ทิ้งเหลือให้เป็นร่องรอยใหญ่โตง่ายต่อการมีคำตอบบอกลูกหลาน …ทำไมเผ่าพันธุ์แร้งประจำถิ่นในไทยจนจบหมดสิ้น

ยังไม่ใช่ลิขิตของแผ่นดินผืนนี้ต้องจารึกเรื่องพญาแร้งอวสานไว้เพียงเท่านี้

แผ่นดินแห่งการถูกสาบ….. งานฆาตกรรมธรรมชาติอ่อนแอเข้มข้นขึ้นตามลำดับอายุกาลนำหน้า….. ภาระกำจัดพญาแร้งอพยพบริเวณอ่าวไทย และอันดามัน





ปัจจุบันไทยสยามประเทศคือคำตอบบันทึกหน้าใหม่…. วัฏจักรล่อลวงล่าเหยื่อพญาแร้งหิมาลัยสีน้ำตาล อพยพโดยใช้พื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยเป็นสถานสุสานกับดักการหล่นร่วง

เรื่องนี้ชัดเจน…..ทำไมชีวิตของคนเขียนต้องผูกพันรับรู้เรื่องหดหู่อย่างนี้



ชีวิตพญาแร้งกินสัตว์ซากเน่า ไม่เบียดเบียนชีวิตพืช ไม่เบียดเบียนเนื้อสัตว์สด เกิดมาเพื่อทำงานคอยกำจัดกินอาหารซากเน่าเหม็นกำจัดกลิ่นโชยเน่าเหม็น ทำไมซากสัตว์เน่าอาหารของนกอีแร้งชนิดนี้หมดไปแล้ว หมาเน่าข้างถนนมีให้บ้างไหม ซากสัตว์ตายยุ่ยเหม็นโฉ่ไม่มี อีกแล้ว อาหารสัตว์กลายเป็นโรงงานอุสาหกรรมสัตว์



เกิดประเด็นขึ้นแล้ว

ใครกันนำพา…เรื่องราวของเหล่านกพญาแร้งสีน้ำตาลหิมาลัย เงื่อนไขใหญ่ต้องเกิดความสงสาร พาไปสู่ ความกรุณา…


ความกรุณาสร้างอิทธิพลผลักดันมวลชนทั้งหมดสู่หลุมกับดัก ร่วมรับรู้ชะตากรรมลำบากของนกชนิดนี้ เหล่าคนแค่กลุ่มเล็กๆเท่านั้นและมีเราเป็น หนึ่งในนั้นรับรู้โครงการวางแผนอุปการะ เพื่อลดโศกนาฏกรรมอันแสนวิปโยก ประกาศให้คนบางคนได้มองเห็นความจำเป็นรีบเร่งช่วยเหลือแร้ง

ผู้นำโครงการนี้ประสานทุกฝ่ายขอเติมโอกาส เหล่าฝูงพญาแร้งอพยพบินมาจากิเทอกเขาหิมาลัยหรืออพยพบินกลับ....หาก ....หรือ.... ถ้า...... ผ่านป่าใหญ่ห้วยขาแข้ง




….. หวังตั้งเป้าหมาย ของทุกๆปีตรงนี้ซับฟ้าผ่า...มีการจัดวางซากอาหารโปรดไว้ให้ อย่างต่อเนื่อง ทุกสัปดาห์เพื่อเป็นแหล่งอาหารโปรตีนสร้างพลังงานสู้ชีวิตวิบากสู่ทิศจุดหมายไม่ว่าจะเป็นช่วงอพยพมา หรือเวลาพาเจ้าพญาแร้งโบยบินกลับสู่บ้าน



คำว่าบ้านอีกหลังของพวกเจ้าพญาแร้ง…… ดินแดนธิเบตภูเขาแห่งความหนาวลึกและไร้ขอบทะเลมหาสมุทร

หลังจากผ่านขั้นตอนยุ่งยากในการช่วยเหลือ เอาออกจากอ้อมแขนผู้เก็บเจ้าจากทะเล..... บังคับด้วยกฏหมาย การล่อขอซื้อ หรืออีกหลายวิธีเพื่อนำพญาแร้ง ย้ายนำสู่สถานอนุบาล รักษาจากสัตว์แพทย์อย่างใกล้ชิด





จนเชื่อมั่นในสุขภาพความพร้อมเพื่อให้ทุกตัวได้บินตามเผ่าพันธุ์บินกลับบ้าน

ทุกอย่างบรรจงละเอียดต่อจิตวิตยาสัตว์ชนิดนี้เป็นข้อแรกของทุกการตัดสินใจในการก้าวไปข้างหน้าแค่หนึ่งก้าว

เมื่อเวลาเปิดกรงมาถึง กล้องจากนักข่าว นักถ่ายภาพชีวิตสัตว์ และผู้ที่ช่วยเหลือโครงการทั้งหลาย พญาแร้งทั้งสิบตัวเลือกบินผ่านอาหารอย่างไม่สนใจใยดี หนีคนตามสัญชาตญาณถูกต้อง การปฏิเสธอาหารเงื่อนไขของมนุษย์


การสิ้นหมดหวังของคนดูมาถึง…..คือคำตอบทั้งหมด….พญาแร้งสีน้ำตาลหิมาลัยทั้ง10 ตัว บอกกับทุกคน
นกแร้งอยู่….คนอยู่ดู (คนอยากรู้ว่านกแร้งจะกระชากจิกทึ้งอาหารอย่างไร) แต่นกแร้งเลือกบินหายไป…. คนพ่ายแพ้กับเจตจำนงของสัตว์ปีกชนิดนี้ ผู้คนทั้งหมดออกจากพื้นที่คือสิ่งที่นกแร้งทั้งหมดต้องการ


,มีความผิดหวังของผู้นำโครงการหรือเปล่า ตรงกันข้ามหัวใจอันยิ่งใหญ่ของผู้นำโครงการมองการณ์ไกลไปมากกว่านั้น ไม่ได้เสียใจ กับการเมินเฉยซากวัว แต่ยินดีให้.....วันนี้คือเริ่มต้น เพื่อปีหน้าและของทุกๆปี


ขอให้เจ้าแห่งกาลเวลาผู้กำหนดวัฏจักรการบินย้ายข้ามฟ้า โปรดรับอาหารสำคัญนี้ให้เป็นส่วนหนึ่งของฤดูกาลอพยพย้ายหนีความหนาวเย็นมาสู่ซีกโลกแห่งทะเลสีฟ้าใสอบอุ่นของอ่าวทะเลไทย






โครงการอุปการะเหยี่ยวเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ (Adopt a Raptor) เป็นโครงการฟื้นฟูสุขภาพเหยี่ยว นกอินทรี อีแร้งหรือนกชนิดอื่นๆ เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติภายใต้ขอบเขตการดำเนินการของศูนย์ฟื้นฟู สุขภาพนกเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติและเปิดโอกาสให้นักดูนกหรือ ประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูสุขภาพของนกที่บาดเจ็บ บินตก เนื่องจากขาดอาหารหรือพลัดหลงได้ต่อชีวิต สามารถกลับไปใช้ชีวิต ด้วยตนเองในธรรมชาติต่อไป



คณะผู้ดำเนินการ



เชิดพงค์ เติมตะนันทน์
ปิยะพงษ์ โชติพันธุ์
ทวีวัฒน์ สุปินธรรม
วัฒนวงษ์ วงษ์พันธุ์
ไชยยันต์ เกษรดอกบัว (อาจารย์ต้น ผู้ให้โอกาศพี่กุ้งได้เข้าร่วมในกิจกรรมนี้ค่ะ)
อนุทิน จันทร์เทวา
ชูเกียรติ นวลศรี
พรภัทร นิคมานนท์
พีรศิษฐ์ ตัณฑวณิช
ปารณีย์ หรรษกุล
อายุวัฒ เจียรวัฒนกนก

ไม่มีความคิดเห็น: